วันอาทิตย์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

LEARNING LOG

LEARNING LOG
วิชา ง30206 การตัดต่อภาพยนตร์ ภาคเรียนที่2 ปีการศึกษา 2550
อาจารย์ประจำวิชา อาจารย์ชยการ คีรีรัตน์ อาจารย์นิสิต กันตพงศ์ ปิ่นปัทมเรขา
อาจารย์นิสิต มารีน่า จงเลิศเจษฎาวงศ์
บันทึกประจำวันที่ 12/11/07
ชื่อ-นามสกุล ธนพล ชุ่มชูจันทร์
ชั้น3/5 เลขที่ 15
สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเรียนการสอนในวันนี้ : การใส่effect เลือกeffect จากนั้นทำการdragเอฟเฟคคที่ต้อการลงไปยังtimeline
การใส่title เลือกtitle เลือกแบบที่ต้องการคลิกที่หน้าจอแสดงผลคลิก2ทีเพื่อพิมข้อความที่ต้องการ
การใส่สีพื้นหลัง เลือก color เลือกสีที่ต้องการทำการdragสีนั้นลงในtimelineช่แงลองจากบนสุด สามารถเลือกปรับความสั้นยาวได้
การตัด เลื่อนลูกศรสีแดงๆไปบริเวณที่ต้อการจะตัดจากนั้นกด ปุ่มที่เป็นรูปกรรไก
การเล่นถอยหลังและปรับความไว เลือกไฟร์วีดีโอที่อยู่ในtimeline จากนั้นเลือก รีเวิส เพื่อเล่นย้อนรือ เพล์แบ็คสปีด เพื่อปรับความไว
ประโยชน์ที่จะนำไปใช้ในการทำงานกลุ่ม : นำเทคนิคต่างๆไปประยุคใช้ในงาน
สิ่งที่จะไปค้นคว้าเพิ่มเติม -
คิดเห็นเพิ่มเติม -

วันอาทิตย์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

+++สรุป Ulead+++

~ LEARNING LOG ~

วิชา ง30206 การตัดต่อภาพยนตร์ ภาคเรียนที่2 ปีการศึกษา 2550
อาจารย์ประจำวิชา อาจารย์ชยการ คีรีรัตน์ อาจารย์นิสิต กันตพงศ์ ปิ่นปัทมเรขา
อาจารย์นิสิตมารีน่า จงเลิศเจษฎาวงศ์
บันทึกประจำวันที่ 5/11/50
ชื่อ-นามสกุล ธนพล ชุ่มชูจันทร์
ชั้น 3/5 เลขที่ 15
สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเรียนการสอนในวันนี้ : วิธีการใช้งานโปรแกรม Ulead VideoStudio 11 ในการตัดต่อภาพนิ่ง โดยตัวโปรแกรมมี2ระบบคือ VideoStdio Editor และ Movie Wizzard โดยMovie Wizzad จะเป็นการเลือกImportภาพมาเรียต่อกันหลัจากนั้นโปรแกรมจะทำการใส่effectให้อัตโนมัต VideoStdio Editor จะเป็นการImport ภาพมาเลียงใส่ Timeline และกดเลือกใส่effect ด้ววยตนเอง
ประโยชน์ที่จะนำไปใช้ในการทำงานกลุ่ม : นำความรู้ที่ได้ในวันนี้ไปใช้ในการตัดต่อภาพยนตน์ งานของกลุ่มเพื่อให้ดูน่าสนใจมากขึ้น
สิ่งที่จะไปค้นคว้าเพิ่มเติม : ลองทดสอบโปรแกรมขอลูกเล่นแบบไหม่
ข้อคิดเห็นเพิ่มเติม : ไม่มี

วันอาทิตย์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2550

แร้งคุง

พญาแร้ง เป็น นกขนาดใหญ่ ขนาดประมาณ 81 - 85 ซม. หางสั้น ปลายหางค่อนข้าง เป็นรูปพลั่ว ตัวเต็มวัยสีตามลำตัวออกเป็นสีดำ อก และ สีข้างมีแถบสีขาว บริเวณหัว คอ และ ขา สีแดง ปีกสีดำ บริเวณโคน ขน ปลายปีกทั้งด้านบน และ ด้านล่างมีลายพาดสีเทา ตัวไม่เต็มวัย ของ พญาแร้ง แตกต่างจากตัวไม่เต็มวัย ของอีแร้ง อื่นๆ ตรงที่มีสีขาว บริเวณท้องตอนล่าง และ ขนคลุมโคนหาง ในขณะที่ตัวที่ไม่เต็มวัย ของ แร้งอื่นๆ มักจะเป็นสีน้ำตาลเข้ม หัว ปกคลุมไปด้วยขนอุยสีขาว

สมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติแห่ง ประเทศไทย ร่วมกับคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กลุ่มศึกษาเหยี่ยวและ นกอินทรีในประเทศไทย และสมาคมไทยท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ และผจญภัย จัดตั้งกองทุนฟื้นฟูแร้งดำหิมาลัย เพื่อปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะระดมทุนเพื่อฟื้นฟูสภาพ แร้งดำหิมาลัยที่ได้ผลัดหลงมาในประเทศไทย เพื่อปล่อยคืนสู่ถิ่นที่อยู่อาศัยอย่างปลอดภัย รวมทั้งติดวิทยุสัญญาณดาวเทียมเพื่อศึกษา การเคลื่อนย้ายหากิน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการศึกษาต่อไป
ขอขอบคุณ 1
2




มนุษย์ลำปาง




มนุษย์ลำปาง-โฮโมอีเร็คตัส 500,000 ปี
โฮโม อิเร็คตัส (Homo erectus) เป็นสายพันธ์มนุษย์ (Huminoid) มีวิวัฒนาการเมื่อประมาณ 1ล้านถึง 5 แสนปีมาแล้วของสมัยไพลสโตซีน (Pleistocene Epoch) มีลักษณกะโหลกค่อนข้างหนาเทอะทะและมีหน้าผากลาด มีสันเหนือกระบอกตา (Supra-Orbital Ridge) เป็นสันนูนหนา แต่ขนาดความหนาย้อยกว่ามนุษย์นีแอนเดอธัลเล็กน้อยมีความจุขนาดสมองปริมาตร 800 – 1,200 ซีซี
โฮโม อิเร็คตัส ที่ค้นพบได้จากจังหวัดลำปาง น่าจะได้รับการขนานนามว่า “ มนุษย์สยาม “ (Siam Man) “ มนุษย์ลำปาง ” ( Lampang Man ) หรือ “ มนุษย์เกาะคา ” (KO-KHA Man) ตามแหล่งที่ค้นพบ
นับเป็นครั้งแรกของโลกที่พบฟอสซิล มนุษย์โบราณ โดยคนพื้นเมืองเจ้าของประเทศและเป็นการเปิดเผยโฉมหน้าใหม่ของประวัติศาสตร์ เกี่ยวกับวิวัฒนาการ การเกิดขึ้นเป็นมนุษย์ในแผ่นดินไทยและในทวีปเอเชีย

ขอขอบคุณ แผ่นพับแนะนำแหล่งท่องเที่ยวขององค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง

รีเทิน ออฟ ช่างตัดผม

ตัดกันซะหมดงี้เซงแย่เลย
ชมวิวทีทัด

ตากวดเก่าๆ

มีน้ามตาลให้อารมเก่าๆดูสี่นๆแบบกล้องยุคแรกคัฟ

http://www.fileupyours.com/files/104434/Movie.wmv

ดูแล้วเม้นดูน้ากัฟ

วันพุธที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2550

ตัวเงินตัวทอง


"ตัวเงินตัวทอง" หรือ "ตัวเหี้ย" เป็นสัตว์เลื้อยคลานในกลุ่ม monitor lizard ด้วยรูปร่างที่แปลกประหลาดและพฤติกรรมส่วนตัวของมัน ทำให้คำว่าตัวเหี้ยกลายเป็นภาษาที่ไม่สุภาพในที่สุด ทั้งที่แท้จริงแล้ว "เหี้ย" คือชื่อที่ถูกต้อง
ในประเทศไทย เพื่อนๆ ของตัวเหี้ยยังมีอยู่อีก 3 ชนิด ตัวแรกคือ คือ ตะกวด หรือภาษาอีสานเรียกว่า "แลน" ตะกวดจะมีสีเรียบออกโทนสีน้ำตาลทั้งตัว ขณะที่ลำตัวของตัวเหี้ยเป็นสีดำมีลายดอกสีเหลืองเรียงอยู่อย่างมีระเบียบ รูปร่างส่วนใหญ่อาจจะดูคล้ายกัน แต่เมื่อสังเกตที่รูจมูกของตะกวด จะเห็นว่าอยู่ห่างจากปลายปากมาก จมูกที่ใกล้ปลายปากทำให้ตัวเหี้ยสามารถอยู่ในน้ำได้นาน เวลาที่มันดำน้ำมันไม่ต้องเสียเวลาโผล่ขึ้นมาหายใจทั้งหัว
ตัวที่สองคือ เห่าช้าง (Varanus rudicollis) และตุ๊ดตู่ (Varanus dumerilii) พบทางแถบตอนใต้ของประเทศไทยเท่านั้น เห่าช้างฟังชื่อดูคล้ายงูเห่า แต่จริงๆ แล้วเป็นกลุ่มเดียวกับตะกวดและตัวเหี้ย เกล็ดที่คอดูคล้ายๆ หนามของทุเรียน ตัวสีดำมัน มีจุดสีเหลืองบ้างประปราย ชื่อเห่าช้างได้มาจากเสียงที่ใช้ขู่ศัตรู ตุ๊ดตู่ เป็นชนิดที่เล็กที่สุดในประเทศไทย เกล็ดที่คอแบนราบมีขนาดใหญ่ เมื่อออกมาจากไข่ 1-2 สัปดาห์แรกจะมีสีสันที่หัวเป็นสีส้ม สวยงามมาก จากนั้นสีส้มนี้จะค่อยๆ จางหายไป นิสัยรักสงบ ไม่ดุร้าย
สัตว์สกุลนี้หากินแตกต่างกันตามแหล่งที่อยู่อาศัย ตัวเหี้ยจะกินทั้งซากและสัตว์เป็น ทั้งปู หอย งู หนู ไก่ นก และไข่ของสัตว์ต่างๆ รวมทั้งปลา ส่วนเห่าช้างและตุ๊ดตู่ จะกินอาหารที่มีขนาดเล็กกว่าอาหารโปรดของตัวเหี้ย ส่วนมากจะเป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ห่างจากแหล่งชุมชน ขณะที่ตะกวดจะกินแมลงตามเปลือกไม้เป็นอาหาร รวมทั้งไข่ของสัตว์อื่นๆ ที่มีขนาดพอดีกับความกว้างของปาก
เมื่อถึงช่วงผสมพันธุ์ในฤดูฝน ตัวเหี้ยจะจับคู่กันโดยไม่เลือกว่าคู่จะต้องเป็นตัวเดิม บางครั้งอาจมีการต่อสู้รุนแรง โดยปกติแล้ว ไข่จะมีลักษณะรียาว บางครั้งจะสีขาวขุ่น จำนวนมากน้อยนั้นขึ้นอยู่กับขนาดและชนิดของแม่พันธุ์ ตัวเหี้ยส่วนใหญ่จะวางไข่ประมาณ 6-30 ฟองหรืออาจจะถึง 50 ฟอง ในขณะที่ตุ๊ดตู่วางไข่ครั้งละประมาณ 4-14 ฟอง ในแต่ละปีจะสามารถวางไข่ได้ 2-3 ครั้ง หรืออาจมากกว่านั้นในพื้นที่ซึ่งสภาพในฤดูแล้งและฤดูฝนไม่แตกต่างกัน ไข่จะถูกกลบเป็นเนินดินหรือรังปลวก เวลาในการฟักขึ้นกับชนิดและสภาพแวดล้อม

ผู้มีอุปการะ คุณ อ.คมศร เลาห์ประเสริฐ Thank you